การจัดการมลพิษทางอากาศ จากการเผาในพื้นที่เกษตร ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การจัดการมลพิษทางอากาศ จากการเผาในพื้นที่เกษตร ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          การเพาะปลูกพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักพบการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จึงส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องหมอกควัน และ PM 2.5 ที่มีเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด โดยเฉพาะในช่วงการเตรียมพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก จะเห็นการเผาในพื้นที่เกษตรเกิดขึ้นอย่างชัดเจนและส่งผลกระทบในวงกว้าง
          การเผาในพื้นที่โล่งเพื่อเตรียมที่ดินสำหรับการปลูกพืชในรอบถัดไป หรือเพื่อกำจัดเศษเหลือจากการเกษตรในพื้นที่หลังเก็บเกี่ยว ข้อมูลดาวเทียมพบว่ามีการเผาในพื้นที่โล่งในช่วงพฤศจิกายน-เมษายน ในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย และพบว่าในประเทศไทยมีปัญหาไฟไหม้ป่าและพื้นที่เกษตรด้วย
          การเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นอกจากเป็นแห่งปัญหา PM2.5 แล้ว ยังเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก


การจัดการและลดการเผาในพื้นที่เกษตร
ประเทศไทยมีแนวทางการจัดการปัญหาการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลากหลายวิธี
     •  การพัฒนาเทคโนโลยีในการติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศ
     •  การย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยจุลินทรีย์
     •  การเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
     •  การพัฒนาเครื่องจักรสำหรับจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
     •  การสนับสนุนการปลูกพืชเหลื่อมฤดู
     •  การจัดการไฟป่าด้วยการใช้หลักวิชาการในการควบคุมปริมาณชีวมวลในพื้นที่ป่า
     •  การใช้เทคโนโลยีในการสำรวจจุดที่เกิดไฟป่า กลุ่มลาดตระเวน การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
     •  การจัดทำแนวป้องกันไฟ
     •  การอนุญาตให้ชาวบ้านใช้ป่าเป็นพื้นที่ทำกินแต่ไม่อนุญาตให้ตัดไม้

ประเทศไทยได้มีการตั้งเป้าหมายหยุดการเผาอ้อยในปี 2567 โดยมีแผนการลดอ้อยไฟไหม้ในแต่ละปีให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ในปี 2565 และน้อยกว่าร้อยละ 5 ในปี 2566 จนกระทั่งหยุดเผาในปี 2567
สาเหตุที่เกษตรกรต้องเผาอ้อย
     •  ขาดแคลนแรงงาน
     •  คนงานเก็บอ้อยสดได้ช้ากว่าอ้อยไฟไหม้ถึง 3 เท่า
     •  ข้อจำกัดในเรื่องคิวการส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล
แนวทางการจัดการการเผาอ้อย
     •  มาตรการจูงใจให้ลดการเผา เกษตรกรที่ขายอ้อยไฟไหม้ให้โรงงานจะเสียเงิน 30 บาทต่อตัน ส่วนเกษตรกรที่ขายอ้อยสดให้โรงงานจะได้เงิน 30 บาทต่อตัน
     •  ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวอ้อยสดปราศจากการเผา เพื่อทดแทนการใช้แรงงาน
     •  ร่วมกับภาครัฐในการส่งเสริมให้เกษตรกรลดการเผา
     •  ดำเนินคดีกับผู้ที่เผาอ้อย


ขอขอบคุณ: https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000100011

ยอดผู้เข้าชมเว็บไซด์ Web Hits