การปลูกพืชในพื้นที่จำกัด

การปลูกพืชในพื้นที่จำกัด
เป็นการปลูกพืชที่ไม่มีพื้นที่ดิน หรือมีพื้นที่แต่สภาพดินไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช โดยมีแนวทางและวิธีการดังนี้

1. การปลูกพืชแนวตั้ง โดยการสร้างโครงให้ยึดเกาะและทำกรอบ เพื่อจำกัดทิศทางให้พืชเจริญเติบโตไปในทิศทางที่เราต้องการ และควรตั้งในจุดที่ได้รับแสงแดดไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน หลีกเลี่ยงลมแรง และปลูกไว้ใกล้ ๆ ที่มีแหล่งน้ำ ชนิดพืชที่ปลูกควรมีระบบรากไม่ลึก เช่น ผักกาด ผักสลัด พริก แตงกวา เป็นต้น
2. การปลูกในภาชนะ ภาชนะที่ใช้ ได้แก่ กะละมัง กระถาง ยางรถยนต์ ถังน้ำ กระสอบ กระป๋อง ขวดน้ำ ฯลฯ ที่ไม่ใช้ นำมาตัดปาก ตัดก้น หรือทำขอบเพื่อความคงทนและสวยงาม ชนิดพืชที่ปลูก ควรเลืกให้เหมาะสมกับภาชนะที่ใช้ เช่น กะละมัง ยางรถยนต์ ขวดน้ำ ควรมีระบบรากตื้น หากเป็นถังน้ำ กระสอบ บ่อซีเมนต์ พืชที่นำมาปลูกควรมีระบบรากลึกปานกลาง
3. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (ผักไร้ดิน) แบบง่าย โดยใช้มูลสัตว์นำมาหมักทำสารละลาย เช่น สารละลายจากน้ำหมักมูลสุกร

วิธีการเตรียมน้ำหมักมูลสุกร
1. ถังพลาสติก 200 ลิตร เติมน้ำเปล่าเกือบเต็มถัง
2. มูลสุกรแห้ง 30 กิโลกรัม ใส่ถุงตาข่ายนำไปแช่ในถังที่เตรียมไว้ กดให้จม ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง (อย่าแช่ให้นานกว่านี้ มูลสุกรจะเน่า) เมื่อครบ 24 ชั่วโมงให้นำมูลสุกรออกจากถัง
3. หมักน้ำมูลหมูต่ออีก 5-7 วัน จึงจะได้สารละลายมูลสุกร สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์



ขอขอบคุณ
วารสารส่งเสริมการเกษตร: https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2017/01/การปลูกพืชในพื้นที่จำกัด.pdf


ยอดผู้เข้าชมเว็บไซด์ Web Hits